Click on the topic's name to read more. คลิกที่แถบชื่อหัวข้อเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อนั้น ๆ |
---|
Section
Open allClose all
① 🎯 Mindful Active
❤ รอบรู้ใจเรา
นำเสนอโดย: นันท์ (สุจินันท์) - มหาวิทยาลัยมหิดล [สถานที่: ศูนย์ ICT วัดสุทธิวราราม ถนนเจริญกรุง]
รู้จักและฝึกที่จะระลึกรู้อยู่กับความเป็นไปในขณะนั้น ๆ ของ ...
• อากัปกิริยาทางกาย (body)
• ความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือเฉย ๆ (feelings)
• สภาพทางใจที่อยากได้ ไม่อยากได้ ในสิ่งต่าง ๆ (mental conditions)
• การนึกคิดจินตนาการเป็นเรื่องราวใด ๆ ที่ได้ประสบ หรือที่วาดฝันไว้ (ideas)
ซึ่งเป็นพื้นฐานในการแยกแยะและพิจารณาอาการต่าง ๆ ในระหว่างวัน ตลอดจนในระหว่างที่ทำกิจกรรมอันหลากหลาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการฝึกที่จะตั้งมั่นกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่เสียสมาธิไปกับความคิด หรือ ความวิตกกังวลใด ๆ ที่ผ่านเข้ามา
ประกอบด้วย 6 หัวข้อ ได้แก่
1. What is Mindfulness? (สติ คืออะไร)
2. The Science of Mindfulness (สติในมิติแห่งวิทยาศาสตร์)
3. Mindfulness and Concentration (สติและสมาธิ)
4. Mindfulness in School (สติกับการเรียนรู้)
5. Foundation of Mindfulness (ฐานที่ตั้งแห่งสติ)
6. Basic Practice (แนวทางเบื้องต้นเพื่อฝึกฝนสติ)
② 👥 Ecology of Community
👨👩👧👦 พร้อมเข้าสังคม
นำเสนอโดย: แบล็ค (รัฐวรรษ) - มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ
ทำความเข้าใจในสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศที่เราต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย อันเป็นสภาพที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ตามวีถีชีวิตในสังคม ทั้งด้านอายุ ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมการแสดงออก เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม ตามบริบทที่เราเข้าเกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างทักษะในการปรับเปลี่ยนมุมมอง และการบริหารจัดการตนเองในแต่ละสถานการณ์ที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ และการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก ที่จำเป็นต่อการแสดงออกในสังคมที่ผู้เรียนต้องปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
ประกอบด้วย 5 หัวข้อ ได้แก่
1. Relations To All Directions (ทำทุกทิศให้เกษมสันต์)
2. Helping One Another (เกื้อกูลกันประสานสังคม)
3. Being Self-reliant (พึ่งตนเองได้)
4. Living Harmoniously (อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี)
5. The Ideal Membership (เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน)
③ 📐 Study Toolbox
🎓 สั่งสมประสบการณ์
นำเสนอโดย: วิธ (อิทธิกร) - โรงเรียนสิริรัตนาธร
รู้จักและสามารถสังเกตได้ ถึงการมีและการไม่มีคุณลักษณะสำคัญของการเป็นผู้เรียน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสำรวจตรวจสอบและพัฒนาตนเองและใช้เป็นเครื่องมือในการชี้นำให้ผู้เรียนสามารถสำรวจตรวจสอบตนเองได้ เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาคุณลักษณะดังกล่าวให้มีในตน ทั้งการเลือกค้นแหล่งเรียนรู้ และการลงมือทำดูให้รู้ชัดด้วยตนเอง
ประกอบด้วย 5 หัวข้อได้แก่
1. The Heralds of Learning (จุดเริ่มต้นของการศึกษา)
2. A Progressing Life (มีหลักประกันชีวิตที่พัฒนา)
3. Encouraging Wisdom (เสริมสร้างปัญญา)
4. Learning to be Learned (ศึกษาให้เป็นพหูสูตร)
5. Easy to Support (เลี้ยงง่าย เพื่อได้ทำประโยชน์มาก)
④ ✒ Unlocking & Inspiring
👨🏫 ส่งผ่านการเรียนรู้
นำเสนอโดย: เคส (ภิญญาพัชญ์) - โรงเรียนพระหฤทัยคคอนแวนต์
รู้จักและสามารถสังเกตได้ ถึงการมีและการไม่มีคุณลักษณะสำคัญของการเป็นผู้ให้คำแนะนำ ดำเนินกระบวนการเรียนการสอน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสำรวจตรวจสอบตนเอง และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเติมเต็มคุณลักษณะดังกล่าวให้มีในตน หรือเข้าหาผู้ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นต้นแบบ หรือเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาทั้งด้านลีลาการสอน และการสร้างบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้
ประกอบด้วย 5 หัวข้อได้แก่
1. Being A Good Friend (เป็นมิตรที่ดี)
2. Giving Knowledge (ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้)
3. Having Grace of A Teacher (มีลีลาผู้สอนครบครัน)
4. Factors of Learning (ชวนดูหลักการเรียนรู้)
5. Rules of Conduct (ปฏิบัติต่อกันด้วยดี)
⑤ 🗣 Storytelling
🎬 บอกเล่าสู่ผู้คน
นำเสนอโดย: พิม (พิมพ์ลภัส) - โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
รู้จักกับแนวทางที่หลากหลาย ในการประยุกต์ใช้บทเรียนไทย-อังกฤษแฝงคติสอนใจ ที่ได้รับการปรับแต่งเนื้อหาและแบบฝึกหัดระดับมาตรฐานสากล ตามกรอบ Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดี และเกิดความสนใจที่จะพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ได้อย่างเหมาะสม และค่อยเป็นค่อยไปตามพื้นฐานความรู้ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน โดยการ ตั้งคำถามจากองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องนั้น ๆ (Story-based Approach) และฝึกบอกเล่าเรื่องราว (Storytelling) ในแบบฉบับของตนเอง พร้อมฝึกเชื่อมโยงข้อคิดจากเรื่องราวดังกล่าว (Communicative Approach) กับคุณลักษณะที่พึงมีในตนเอง
ประกอบด้วย 5 หัวข้อได้แก่
1. The science of storytelling (ศาสตร์แห่งเรื่องเล่า)
2. The 4 Characteristics (ลักษณะที่ดึงดูดผู้คนให้สนใจ)
3. From Storytelling to Critical Thinking (จากเรื่องเล่า สู่การปลุกเร้าวิจารณญาณ)
4. Inspiring Story (เล่าอย่างไรสร้างใจให้ลงมือทำ)
5. Creative Activity from the Story (สร้างสรรค์ผลงานผ่านเรื่องราว)
⑥ ⚙ Learning Technology
💻 เชื่อมชุมชนด้วยเทคโนโลยี
นำเสนอโดย: กัน (ธนวัฒน์) - โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (Gap Year)
รู้จักตัวอย่าง และแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัย ผสานกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อขยายผลการเรียนรู้ในห้องเรียน ไปสู่การเรียนรู้นอกห้องเรียน ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรากฏอยู่นอกห้องเรียน มาเป็นต้นแบบเพื่อการศึกษาเรียนรู้ควบคู่กันไปกับกิจกรรมภายในห้องเรียน ได้อย่างพอเหมาะพอดีกับบริบทของข้อจำกัดและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนเองและของกลุ่มผู้เรียนเป็นหลัก โดยการลงมือทดลองปฏิบัติจริงด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น MOODLE (ระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์) หรือ Facebook Group (กลุ่มออนไลน์) หรือ Online Virtual Classroom (ห้องเรียนเสมือนออนไลน์) เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับทั้งผู้สอนและผู้เรียนเอง ได้ใช้เครื่องมือสื่อสารติดตามตัว ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่ผ่านมา และเพื่อเรียนรู้ร่วมกันถึงแนวทางที่เป็นไปได้ สำหรับขยายเครือข่าย ไปสู่กลุ่มที่มีความสนใจที่จะพัฒนาศักยภาพเช่นเดียวกัน ทั้งด้านวิชาที่สอน และด้านวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้กว้างขวางออกไป
ประกอบด้วย 6 หัวข้อได้แก่
1. The Proper Use of Technology (ใช้เทคโนโลยี อย่างมีปัญญา)
2. Internet Safety (ความปลอดภัยในโลกไร้พรมแดน)
3. Device Maintenance (ดูแลเครื่องมือเพื่อใช้สื่อสาระ)
4. What is Online Learning (เรียนรู้แบบออนไลน์)
5. Chunking for Better Learning (จัดสรรเนื้อหาเพื่อศึกษาเหมาะสม)
6. Online Learning Community (เครือข่ายออนไลน์เพื่อการเรียนรู้)
⑦ ☀ Environmentally Friendly
☀ มีรมณีย์เป็นถิ่นฐาน
. . . Coming Soon! . . .
➇ ☏ Speaking Effectively
☏ สื่อสารอย่างสร้างสรรค์
. . . Coming Soon! . . .
✉ Idea Sharing
✉ ความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจในหมวดนี้